|
|
|
|
จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากร พบว่ามีผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจมีความสามารถในการบีบตัวลดลง ทำให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายมีเลือดและออกซิเจนลดลง สาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลวส่วนใหญ่เกิดจากโรคที่มีผลต่อหัวใจ ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ และโรคของลิ้นหัวใจ เป็นต้น ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวทำให้ความสามารถในการทำงานลดลง มีคุณภาพชีวิตลดลง เป็นสาเหตุของการตายก่อนวัยอันควร นอกจากนี้ยังทำให้เสียงบประมาณในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้มากขึ้น |
|
|
|
|
|
ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ |
|
|
ได้เล็งเห็นความสำคัญของภาวะนี้ จึงได้จัดตั้ง "คลินิกหัวใจเข้มแข็ง" ณ ชั้น 7 อาคาร 72 พรรษา มหาราชินี ให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00-12.00 น. ทุกวันศุกร์สัปดาห์ที่ 1 และ 3 ของเดือน เพื่อให้ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำ และลดอัตราการตาย การดูแลรักษาผู้ป่วยใช้ลักษณะบูรณาการและสหสาขาวิชาชีพ กล่าวคือมีการดูแลผู้ป่วยร่วมกันระหว่าง แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ และนักจิตวิทยา เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการรักษาวิชาชีพ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
หน้าที่หลัก "คลินิกหัวใจเข้มแข็ง" |
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
ลดอัตราการกลับมารักษาซ้ำและลดระยะเวลาการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล |
|
|
|
|
|
 |
|
ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ |
|
|
|
|
|
 |
|
ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ |
|
|
|
|
|
 |
|
ช่วยเพิ่มบทบาทการดูแลตนเองของผู้ป่วย |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนปฏิบัติงานของคลินิกหัวใจเข้มแข็ง |
|
|
1. |
ให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อมีภาวะหัวใจล้มเหลว |
2. |
ประเมินอาการและอาการแสดง โดย |
|
2.1 ซักประวัติ |
|
2.2 ประเมิน New York Heart Association functional class |
|
2.3 ประเมินสมรรถภาพโดยการให้ผู้ป่วยเดินเร็วเป็นเวลา 6 นาที |
|
2.4 ประเมิน Minnesota Living with Heart Failure Score |
|
2.5 ประเมินผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ เช่น Plasma NT-proBNP, cardiac troponin T, thyroid function test, lipid profile |
|
2.6 ประเมินผลการตรวจเกี่ยวกับโรคหัวใจทั้งหมด ได้แก่ Echocardiogram, Exercise stress test, Cardiac MRI/CT, Cardiac catheterization
|
3. |
ให้การรักษาตามแนวทางการรักษาที่เหมาะสม ทั้งการใช้ยา การออกกำลังกาย การควบคุมอาหารและน้ำ การดูแลสภาพจิตใจ |
4. |
สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติตัวตามแผนการรักษาและการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง |
|
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนการติดตามอาการของผู้ป่วย |
|
|
คลินิกหัวใจเข้มแข็ง มีกระบวนการติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด ทั้งระบบการนัดผู้ป่วยแบบผู้ป่วยนอก และมีระบบติดตามอาการและให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์เมื่อผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลง โดยประเมินผู้ป่วยด้านสภาวะโรค พฤติกรรม และจิตสังคม ให้คำปรึกษาด้านการใช้ยาต่างๆ พฤติกรรมดูแลสุขภาพ โดยเน้นการให้กำลังใจและชี้ให้เห็นความก้าวหน้าสู่เป้าหมายการรักษาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในกระบวนการรักษา |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|