![]() |
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
ภาวะ Long COVID และภาวะแทรกซ้อนระยะยาวทางระบบการหายใจจากโรคโควิด 19 |
|||||||||||||||
![]() |
|||||||||||||||
พงศกร ค้ำพันธุ์ | |||||||||||||||
กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลกลาง กรุงเทพมหานคร | |||||||||||||||
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อเป็นการทบทวนความรู้ที่มีในปัจจุบันของภาวะ Long COVID และภาวะแทรกซ้อนระยะยาวทางระบบการหายใจ ในด้านระบาดวิทยา พยาธิวิทยา การดูแลรักษา เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ Long COVID และภาวะแทรกซ้อนระยะยาวทางระบบการหายใจ วิธีการดำเนินการศึกษา: ทบทวนวรรณกรรม ผลการศึกษา: ภาวะ Long COVID เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นภายหลังจากหายจากโรคโควิด19 พบระยะเวลาที่เกิดอาการตั้งแต่ 1 ถึง 3 เดือนหลังจากการติดเชื้อ อุบัติการณ์ตั้งแต่ร้อยละ 11-93 แตกต่างกันไปตามนิยาม และระยะเวลาของแต่ละการศึกษา อาการที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย อาจมีอาการได้มากกว่า 1 อาการ ที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไอ เวียนศีรษะ ปริชานบกพร่อง วิตกกังวล นอนไม่หลับ โดยอาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ หรืออาการที่หลงเหลือหลังหายจากโรคโควิด19 ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะ Long COVID ได้แก่ เพศหญิง การมีโรคประจำตัวเดิม โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคทางจิตเวช มีอาการแสดงจากอวัยวะตั้งแต่ 5 อวัยวะขึ้นไปในช่วงเป็นโควิด19 และการนอนโรงพยาบาลช่วงเป็นโควิด19 ปัจจุบันเชื่อว่า พยาธิวิทยาของภาวะ Long COVID เกิดจากการบาดเจ็บของอวัยวะจากการรุกล้ำของไวรัสโควิด19 โดยตรง และการอักเสบของอวัยวะจากภาวะภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้นจากการติดเชื้อโควิด 19 ระยะเวลาการดำเนินโรคของภาวะ Long COVID ปัจจุบันยังไม่ทราบชัดเจน การดูแลรักษา Long COVID ประกอบด้วย การวินิจฉัยแยก Long COVIDจากโรคอื่น ๆที่มีอาการคล้ายกันที่ต้องการการรักษาเฉพาะ การใช้ยารักษาตามอาการที่ปรากฏ เช่น อาการปวด นอนไม่หลับ การทำกายภาพบำบัด การให้คำปรึกษาและการรักษาทางจิตเวช สำหรับผู้ป่วยปอดอักเสบจากโควิด19 ควรได้รับการติดตามอาการ และเอกซเรย์ปอดที่ 12 สัปดาห์หลังออกจากโรงพยาบาล ควรได้รับการตรวจสมรรถภาพปอดในรายที่มีอาการเหนื่อย หรือเอกซเรย์ปอดผิดปกติ รวมทั้งการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดในรายที่สงสัยโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดหรือปอดเป็นพังผืด ควรติดตามอาการ Long COVID ในผู้ป่วยทุกครั้งที่พบแพทย์ส่วนภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวทางระบบการหายใจของโรคโควิด19 ได้แก่ โรคปอดเป็นพังผืด และโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด พบในผู้ป่วยโควิด19 ที่มีอาการปอดอักเสบรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง ประโยชน์ของยาต่อต้านการเกิดพังผืดในปอดที่ใช้รักษาโรคปอดเป็นพังผืดไม่ทราบสาเหตุในการรักษาโรคปอดเป็นพังผืดจากโควิด19 ยังต้องรอผลจากการศึกษาที่กำลังดำเนินอยู่ ข้อมูลที่แสดงถึงประโยชน์ของการให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดแก่ผู้ป่วยโควิด 19 หลังออกจากโรงพยาบาลยังมีไม่มาก แต่สามารถลดการเกิดลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดในผู้ป่วยบางรายที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดกั้นในหลอดเลือดดำได้ สรุป: ในภาวการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้คาดการณ์ได้ว่า ภาวะ Long COVID จะเป็นปัญหาสำหรับผู้ป่วยที่ถูกบั่นทอนคุณภาพชีวิต และเป็นปัญหาสำคัญในทางสาธารณสุข งานวิจัยที่ค้นหาองค์ความรู้เกี่ยวกับภาวะ Long COVID มีความสำคัญอย่างมากในด้านพยาธิกำเนิดโรค การดำเนินโรค อุบัติการณ์ที่แม่นยำ การจัดแบ่งกลุ่มอาการ การรักษาด้วยยาและการรักษาที่ไม่ใช้ยา รวมถึงผลจากการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด 19 ต่อภาวะ Long COVID การพัฒนาระบบการดูแลรักษา Long COVID ที่มุ่งเน้นสหสาขาวิชาชีพเพื่อการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวมและต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญและท้าทาย |
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
เผยแพร่แล้ว: ธ.ค. 28, 2022 |
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
|
|||||||||||||||
ReferencesWorld Health Organization. WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard [Internet]. 2022[cited 2022 Apr 13]. Available from: https://covid19.who.int. |
|||||||||||||||
National Institute for Health and Care Excellence. COVID-19 rapid guideline: managing the long-term effects of COVID-19 [Internet]. 2020[cited 2022 Apr 13]. Available from: https://www.nice.org.uk/ guidance/ng188. | |||||||||||||||
Datta SD, Talwar A, Lee JT. A proposed framework and timeline of the spectrum of disease due to SARS-CoV-2 infection: illness beyond acute infection and public health implications. JAMA 2020; 324:2251–2. | |||||||||||||||
Carfì A, Bernabei R, Landi F, Gemelli Against COVID-19 Post-Acute Care Study Group. Persistent symptoms in patients after acute COVID-19. JAMA 2020; 324: 603–5. | |||||||||||||||
Tenforde MW, Kim SS, Lindsell CJ, Billig Rose E, Shapiro NI, Files DC, et al. Symptom duration and risk factors for delayed return to usual health among outpatients with COVID-19 in a multistate health care systems network - United States, March-June 2020. MMWR Morb Mortal Wkly Rep 2020; 69: 993-8. | |||||||||||||||
Office for National Statistics. Prevalence of ongoing symptoms following coronavirus (COVID-19) infection in the UK [Internet]. 2022[cited 2022 Oct 24]. Available from: https://www.ons.gov.uk/ | |||||||||||||||
peoplepopulationandcommunity/healthandsocialcare/conditionsanddiseases/bulletins/ prevalenceofongoingsymptomsfollowingcoronaviruscovid19infectionintheuk/6october2022. |
|||||||||||||||
Dennis A, Wamil M, Alberts J, Oben J, Cuthbertson DJ, Wootton D, et al. Multiorgan impairment in low-risk individuals with post-COVID-19 syndrome: a prospective, community-based study. BMJ Open; 11: e048391. |
|||||||||||||||
Brightling CE, Evans RA. Long COVID: which symptoms can be attributed to SARS-CoV-2 infection? The Lancet 2022; 400: 411–3. |
|||||||||||||||
Crook H, Raza S, Nowell J, Young M, Edison P. Long covid-mechanisms, risk factors, and management. BMJ 2021; 374: n1648. |
|||||||||||||||
Delorme C, Paccoud O, Kas A, Hesters A, Bombois S, Shambrook P, et al. COVID-19-related | |||||||||||||||
สำนักงานวารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ | |||||||||||||||
ชั้น 3 (ภายในห้องสมุดทางการแพทย์) อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู | |||||||||||||||
เลขที่ 8โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ แขวงบางคอแหลม | |||||||||||||||
เขตบางคอแหลม กทม. 10120 | |||||||||||||||
02-2892192 (วันและเวลาราชการ) | |||||||||||||||
บรรณาธิการ | |||||||||||||||
นพ.ทิวา เกียรติปานอภิกุล | |||||||||||||||
ผู้ประสานงาน | |||||||||||||||
นางสาวเพียงพิชญ์ ภู่พงศ์พันธุ์ | |||||||||||||||
pppp.rmckp@gmail.com | |||||||||||||||
นายธาวิต บวรกุล | |||||||||||||||
Nothing2fear@outlook.com | |||||||||||||||