การพัฒนากระบวนการจัดการเวชสารสนเทศผู้ป่วยเด็ก ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ
ชลประทาน  มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ 

 
 
 
       
     
    จิติภา ลิ่มมั่น
    นักศึกษาหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (การจัดการเวชสารสนเทศ) คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
     
    แสงเทียน อยู่เถา
    อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
     
     
    บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 
เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเวชระเบียน และเพื่อศึกษาความต้องการในการใช้ข้อมูลในเวชระเบียนที่มีผลต่อกระบวนการรับบริการ การดำเนินการด้านข้อมูลเวชสถิติ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริหารจัดการเพื่อการดำเนินการด้านข้อมูลและการบริการของผู้ป่วยเด็ก
เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนากระบวนการจัดการเวชสารสนเทศผู้ป่วยเด็ก ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
 
   
   
   
   
 
    Language
 
      English  
      ภาษาไทย  
   
   
     
     
 
    Information
 
      สำหรับผู้อ่าน  
      สำหรับผู้แต่ง  
      สำหรับบรรณารักษ  
    วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed method research)โดยศึกษากับบุคลากรด้านเวชระเบียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยกุมารเวชกรรม แพทย์ พยาบาลและสหวิชาชีพด้านการแพทย์ที่ปฏิบัติงานที่ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  จำนวน 91 คน โดยใช้แบบสอบถามและใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นหัวหน้างานหรือผู้แทนด้านเวชระเบียน เวชสถิติและเวชสารสนเทศ จำนวน 10 คน ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา
   
   
       
 
 
 
    Home ThaiJo
 
   
   
   
       
 
เผยแพร่แล้ว: ธ.ค. 28, 2022
  ผลการวิจัย: ระดับปัญหาและความต้องการในการพัฒนากระบวนการจัดการเวชสารสนเทศผู้ป่วยเด็ก โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาเกี่ยวกับปัญหา พบว่า ปัญหาด้านการดำเนินการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้ป่วยเด็กอยู่ในระดับมาก (x̄=3.73, SD=0.698) รองลงมา คือ ปัญหาด้าน          การบริหารจัดการเพื่อการดำเนินการด้านข้อมูลและการบริการ (x̄=3.60, SD=0.715)ด้านการดำเนินการด้านข้อมูลเวชสถิติ (x̄=3.57, SD=0.753) ด้านความล่าช้าในการจัดทำเวชระเบียนผู้ป่วยเด็ก (x̄=3.54 SD=0.860) และด้านเวชระเบียนในกระบวนการรับบริการ (x̄=3.52, SD=0.751) ตามลำดับ ส่วนผลการศึกษาเกี่ยวกับความต้องการ พบว่า ด้านการบริหารจัดการเพื่อการดำเนินการด้านข้อมูลและการบริการสูงที่สุด (x̄=4.05, SD=0.557) รองลงมา คือ ความต้องการด้านข้อมูลเวชสถิติ (x̄=4.02, SD=0.588)  และความต้องการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (x̄=3.98, SD=0.478) และด้านเวชระเบียนในกระบวนการรับบริการ (x̄=3.97, SD=0.657)  ตามลำดับ ส่วนแนวทางที่สำคัญจากการศึกษา คือ การพัฒนาด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนา จัดหาซอฟต์แวร์ การจัดการข้อมูลสารสนเทศในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ และการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
   
 
    Manual
 
      For Author  
      For Reviewer  
     
     
     
 
    เว็บไซต์
 
      โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ  
      www.ckphosp.go.th  
     
     
     
     
       
         
      สรุป: การพัฒนากระบวนการจัดการเวชสารสนเทศผู้ป่วยเด็กพบปัญหาที่ส่งผลต่อกระบวนการพัฒนา คือความไม่เพียงพอของคอมพิวเตอร์และ
อุปกรณ์ในการใช้งาน ความไม่เพียงพอของบุคลากรด้านสารสนเทศเพื่อสนับสนุนผู้ใช้งานส่งผลกระทบต่อการให้บริการเกิดความล่าช้า บุคลากร
ด้านเวชสถิตไม่เพียงพอ ส่วนความต้องการในการพัฒนา คือ จำนวนบุคลากรที่เพียงพอต่อการให้บริการเพื่อลดระยะเวลารอคอยการรับบริการ ความเพียงพอต่อการใช้งานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน และศักยภาพของบุคลากรให้เกิดความรวดเร็ว จากปัญหาและความต้องการทำให้เกิดแนวทางในการพัฒนากระบวนการจัดการเวชสารสนเทศผู้ป่วยเด็กในการให้ความสำคัญกับอุปกรณ์และ
เครื่องมือในระบบสารสนเทศและปรับปรุงระบบโปรแกรมที่ตอบสนองต่อการใช้งานในระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล (Hospital Information System: HIS) ที่จะต้องมีการวางแผนการปรับปรุงโปรแกรมให้มีความทันสมัย (update) พร้อมทั้งพัฒนาขั้นตอนการปฏิบัติงานของบุคลากรให้มี
ศักยภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 
       
       
       
       
       
       
       
       
         
         
     
   ฉบับ  
    ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 (2565): กรกฎาคม - ธันวาคม 2565  
 
         
         
     
   บทความ  
    บทความวิจัย  
 
         
         
         
     
 

References

ชุลีพร ชอบสุข, บุศย์รินทร์ อารยะธนิตกุล, สุอารี ล้ำตระกูล,วชิรา ตันเสนีย์, ผ่องแผ้ว พุ่มศรีนิล,

ปาริชาติ ยิ่งประเสริฐ. การพัฒนาแบบบันทึกทางการพยาบาลหอผู้ป่วยเด็กอาการหนัก. วารสารพยาบาลทหารบก; 19: 231-40.

อุดมพร คำล้ำเลิศ, อารี ชีวเกษมสุข, รัชนี นามจันทรา, วิไล กุศลวิศิษฎ์กุล. การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลในหออภิบาลทารกแรกเกิด โรงพยาบาลสมุทรสาคร. วารสารพยาบาลทหารบก 2560 ; 18 (ฉบับพิเศษ): 326 - 34.

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. ประวัติสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2551
[เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2560]. เข้าถึงได้จาก http://www. thaipediatrics.org/ pages/About/Detail/1.

แสงเทียน อยู่เถา. เวชระเบียน. กรุงเทพฯ: บริษัท มิสเตอร์ก๊อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด; 2556.

ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.โครงสร้างการบริหาร. [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2560]. เข้าถึงได้จากhttps://pcmc.swu.ac.th/structure.html

อุบลรัตน์ โพธิ์พัฒนชัย, อติญาณ์ ศรเกษตริน, รุ่งนภา จันทรา,โศรตรีย์ แพน้อย. การศึกษาสถานการณ์ขาดแคลนและความต้องการกำลังคนสาขาการพยาบาลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพรและระนอง.
วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2558; 8: 111-20.

กฤษฎา แก้วผุดผ่อง. สภาพการใช้ ปัญหา และความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของบุคลากรหอสมุดและคลังความรู้
มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย 2558; 2: 9-14.

นพมาส เครือสุวรรณ. การบริหารการพัฒนางานเวชระเบียนในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. นครปฐม:
มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2559.

พวงผกา มะเสนา, ประณต นันทิยะกุล. การบริหารจัดการการบริการที่ มีคุณภาพในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 2557; 4: 88-101.

กัญญรัตน์ อ่อนศรี. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรโรงพยาบาลชุมชนสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2553.

จุฑาสินี สัมมสนันท์. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล กรณีศึกษา โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี [อินเทอร์เน็ต]. 2560[เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2563 ].
เข้าถึงได้จาก http://ethesisarchive.library. tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5902010213_8073_6876.pdf.

ลัคนา แซ่บู่, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา. การพัฒนาตนเองด้านสารสนเทศกับการใช้สารสนเทศตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลทั่วไปภาคใต้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559; 3: 140-57.

สคมวิชช์ สุขภัทริทธิกุล,บุญช่วย ศรีธรรมศักดิ์. การพัฒนาระบบสารสนเทศการบันทึกข้อมูลและแผนผังการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับระบบ
สารสนเทศโรงพยาบาล ศิริราช. วารสารเวชบันทึกศิริราช 2556 ; 6: 7-14.

สุภัคจิตต์ ผิวชอุ่ม.ความต้องการฝึกอบรมการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล [อินเทอร์เน็ต]. 2552[เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Adu_Ed/Supakjit_P.pdf

แสงเทียน อยู่เถา. การบริหารงานเวชระเบียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

วันเพ็ญ เวชกามา. การใช้สารสนเทศของเจ้าพนักงานเวชสถิติในโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. วารสารสุทธิปริทัศน์ สาขาศิลปะศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2557; 28: 17-34.

จตุพร กลมปั่น. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการรายงานความสมบูรณ์ของการสรุปเวชระเบียนผู้ป่วยใน. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2562; 15: 54-79.

ชรินธร แก้งคำ. ระบบบริหารการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร; 2560.

 
 
         
         
         
     
     
     
     
     
     
     
  สำนักงานวารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์  
  ชั้น 3 (ภายในห้องสมุดทางการแพทย์) อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู  
  เลขที่ 8โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ แขวงบางคอแหลม  
  เขตบางคอแหลม กทม. 10120  
  02-2892192 (วันและเวลาราชการ)  
 
 
  บรรณาธิการ  
     นพ.ทิวา เกียรติปานอภิกุล  
  ผู้ประสานงาน  
     นางสาวเพียงพิชญ์ ภู่พงศ์พันธุ์  
     pppp.rmckp@gmail.com  
     นายธาวิต บวรกุล  
     Nothing2fear@outlook.com