เผยแพร่แล้ว: มี.ค. 25, 2019
 
   
 
  คำสำคัญ:
  โปรแกรม ความรู้ ทักษะ เจตคต
ิ  ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น
  การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
 
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
   
 
 
 
    Language
 
      English  
      ภาษาไทย  
 
 
    Information
 
      สำหรับผู้อ่าน  
      สำหรับผู้แต่ง  
      สำหรับบรรณารักษ์  
 
 
    Home ThaiJo
 
   
 
 
 
    Manual
 
      For Author  
      For Reviewer  
 
 
    เว็บไซต์
 
      โรงพยาบาล
    เจริญกรุงประชารักษ
 
      www.ckphosp.go.th  
 
 

 

     
 
 
     
     
 

ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้ ทักษะ และเจตคติของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น
ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยพยาบาลวิชาชีพ ที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง
สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

 
     
     
 
สาลี่ แซ่เบ๊
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
สมพันธ์ หิญชีระนันทน์
รองศาสตราจารย์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
สุคนธ์ ไข่แก้ว
รองศาสตราจารย์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทักษะและเจตคติของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม และวิเคราะห์ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการสอนงาน และดูแลการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น


วิธีดำเนินการวิจัย: โดยนำโปรแกรมใช้กับประชากรผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นกลุ่มที่เกี่ยวข้องเฉพาะกลุ่มเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั้งหมดเท่านั้น ได้แก่ งานการพยาบาลสูติศาสตร์และกุมารเวชศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการสอนและคู่มือการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความรู้ ทักษะและเจตคติสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ ดำเนินการโดยจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ประเมินผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นก่อนและหลังเข้าโปรแกรม สอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการสอนงานการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รวมทั้งการทดสอบสมมติฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย: พบว่า 1) ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นมีคะแนนความรู้ ทักษะ และเจตคติในการสอนงาน และดูแลการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมในทุกด้าน โดยความรู้อยู่ในระดับสูง มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.35 (D = 2.35) คิดเป็นร้อยละ 10.46 ทักษะอยู่ในระดับสูงมาก มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.48 (D = 0.48) คิดเป็นร้อยละ 11.45 และเจตคติ อยู่ในระดับสูงที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.53 (D = 0.53) คิดเป็นร้อยละ 12.26 สอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัย 2) พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการสอนงานการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ในระดับมากที่สุด (μ = 4.75, σ = 0.35) สอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัย


สรุปผลการวิจัย: โปรแกรมการพัฒนาความรู้ ทักษะ และเจตคติของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยพยาบาลวิชาชีพ นำรูปแบบการสอนงานตามแบบจำลองโกรว์ มาใช้ร่วมโปรแกรม ทำให้ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นมีความรู้ ทักษะ และเจตคติในการสอนงาน และดูแลการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยรวมสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมในทุกด้าน และพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการสอนงานและดูแลการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระดับมากที่สุด


คำสำคัญ: โปรแกรม ความรู้ ทักษะ เจตคติ ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 
     
     
     
 
   ฉบับ  

    ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (2018): กรกฎาคม - ธันวาคม 2561

 
 
     
     
 
   บทความ  
    Original Article  
 
     
     
     
 

References

1. WHO/UNICEF. Global Strategy for Infant and Young Child Feeding. Geneva; 2003.

2. สำนักการพยาบาล. เกณฑ์คุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
สามเจริญพานิชย์; 2551.

3. นิตยา ศรีญาณลักษณ์. การบริหารการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ
สถาบันพระบรมราชชนก; 2554.

4. อนันต์ พันนึก. การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.
[ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, ขอนแก่น:
มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

5. Alexander G. Behavioral coaching-the GROW model in Passmore, Jonathan. Excellence in
coaching: The industry guide 2nd ed. Philadelphia: Kogan; 2010.

6. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมแปล ไทย-อังกฤษ ราชบัณฑิตยสถาน ม.ป.ท.; ม.ป.ป. เข้าถึงได้จาก
https://dictionary.sanook.com/search. เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560.

7. ดนยา โรจนชีวะ. ผลของการจัดการรูปแบบการให้ความรู้แก่มารดาหลังคลอดครรภ์แรกต่อการรับรู้
ความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิในจังหวัดสุพรรณบุรี. [พยาบาล
ศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการจัดการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน;
2555.

8. Hong TM, Callister LC, Schwartz R. First-time mother’ views of breast feeding support from
nurses. MCN Am J Matern Child Nurs. 2003; 28: 10-5.

9. Mc Innes RJ, Chambers JA. Supporting breastfeeding mothers: Qualitative synthesis. J Adv Nurs.
2008; 62(4): 407-27.

10. Moran VH, Bramwell R, Dykes F, Dinwoodie K. An Evaluation of skills acquisition on The
WHO/UNICEF breastfeeding management course using the pre-validated breastfeeding support
skills tool BeSST. Midwifery. 2000; 16: 197-203.

11. Patricia Carvalho de Jesus, Maria Ines Couto de Oliveira, Sandra Costa Fonseca. "Impact of Health
Professional Training in Breastfeeding on their Knowledge, Skills, and Hospital Practices: A
systematic review." Journal de Pediatria. 2016; 92(5): 436-50.

12. จิราภรณ์ รัตติกาลสุขะ และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. การบริหารงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ได้รับรางวัล
ดีเด่น. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557; 5(2): 179-86.

13. สถาบันฝึกอบรมเทรนนิ่ง. คน Gen Y คืออะไร ทำไมองค์กรต่าง ๆ ควรต้องเจียระไนคน Gen Y.
ม.ป.ท.; 2556. เข้าถึงได้จาก http://www.entraining.net. เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2560.

14. สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล และบุญทิพย์ สิริธรังศรี. สู่กระบวนทัศน์ใหม่ของผู้บริหารการพยาบาล.
นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2558.

15. ปวรมนต์ ทัศนอนันชัย. ลักษณะการบริหารพยาบาลวิชาชีพ Generation Y. วารสารเกื้อการุณย์. 2557;
21(2): 126-38.

16. สุสัณหา ยิ้มแย้ม และคณะ. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่ 21. พยาบาลสาร. 2558; 42(พิเศษ 1): 129-40.

17. จุฬารัตน์ ห้าวหาญ และอรชร อินทองปาน. การวิจัยและพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนา
ความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการบริการสุขภาพ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2558;
25(1): 167-77.