วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ ที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็น พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานเวรตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามวัดความรู้ในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาล ซึ่งผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตร K-R20 ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.74 และแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงานตามการรับรู้ของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สัดส่วน ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (paired t-test)
ผลการวิจัย: ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ ผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการมีความรู้ระดับสูง (=14.25, S.D.=1.74) และทักษะระดับปานกลาง (=3.29, S.D.=0.53) หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการมีความรู้ระดับสูง (=15.94, S.D.=2.34) และทักษะระดับดี (=3.54, S.D.=0.51) ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน ผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการมีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุปผลการวิจัย:โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ สามารถพัฒนาความรู้และทักษะในการการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการได้ การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารทางการพยาบาล จึงควรนำการดำเนินการในโปรแกรมการมีส่วนร่วมในด้านการฝึกเชิงปฏิบัติการ ด้วยการใช้กรณีศึกษามาพัฒนาเพิ่มความรู้การนิเทศและทักษะด้านการแก้ปัญหาและการตัดสินใจของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราการได้อย่างมีประสิทธิผล
คำสำคัญ: โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ