เผยแพร่แล้ว: มี.ค. 25, 2019
 
   
 
  คำสำคัญ:
  คุณภาพชีวิตการทำงาน
  องค์กรแห่งการเรียนรู้ ความสัมพันธ์
  การขับเคลื่อนโรงพยาบาล
 
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
   
 
 
 
    Language
 
      English  
      ภาษาไทย  
 
 
    Information
 
      สำหรับผู้อ่าน  
      สำหรับผู้แต่ง  
      สำหรับบรรณารักษ์  
 
 
    Home ThaiJo
 
   
 
 
 
    Manual
 
      For Author  
      For Reviewer  
 
 
    เว็บไซต์
 
      โรงพยาบาล
    เจริญกรุงประชารักษ
 
      www.ckphosp.go.th  
 
 

 

 
     
 
 
     
     
 

ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงาน
กับการขับเคลื่อนโรงพยาบาลเข้าสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

 
     
     
 
รพีพรรณ คงบุรินทร์
นักศึกษาหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วรรณลักษณ์ เมียนเกิด
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการ-สังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สุรางค์รัตน์ วศินารมณ์
รองศาสตราจารย์ประธานกรรมการสารนิพนธ์ สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาการขับเคลื่อนโรงพยาบาลเข้าสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับการขับเคลื่อนโรงพยาบาลเข้าสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ 


วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 197 คน ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2559 - 3 พฤศจิกายน 2559 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)


ผลการวิจัย1) บุคลากรโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานครมีคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง 2) การมีส่วนร่วมของบุคลากรโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานครในการขับเคลื่อนโรงพยาบาลเข้าสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับการขับเคลื่อนโรงพยาบาลเข้าสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง


สรุปผลการวิจัยคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์กับการขับเคลื่อนโรงพยาบาลเข้าสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ทางบวกในระดับสูง จากผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อเสนอสำหรับโรงพยาบาลในการพัฒนาและส่งเสริมในด้านคุณภาพชีวิตการทำงาน การมีส่วนร่วม               ในการขับเคลื่อนโรงพยาบาลเข้าสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้บุคลกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความพึงพอใจ              ในการปฏิบัติงาน เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน


คำสำคัญ:  คุณภาพชีวิตการทำงาน องค์กรแห่งการเรียนรู้ ความสัมพันธ์ การขับเคลื่อนโรงพยาบาล

 
     
     
     
 
   ฉบับ  

    ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (2018): มกราคม - มิถุนายน 2561

 
 
     
     
 
   บทความ  
    Original Article  
 
     
     
     
 

References

1. สุภัทรา มิ่งปรีชา. ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกต่อคุณภาพบริการของ
โรงพยาบาลแพร่. [รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์; 2550.

2. โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร. รายงานข้อมูลทางเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาล
ลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ปี 2556-2558. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร สำนัก
การแพทย์: 2559.

3. โสรยา พูลเกษ. ความคาดหวังของผู้ป่วยนอกต่อคุณภาพบริการของโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพ-
มหานคร. [สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2550.

4. ชาคริต ศึกษากิจ. องค์กรแห่งการเรียนรู้ในโรงพยาบาลของรัฐเขตกรุงเทพมหานคร. [ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต].
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2550.

5. สุนิธิ ศรีฉันทะมิตร. คุณภาพชีวิตในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนอำเภอธัญบุรี
จังหวัดปทุมธานี. [สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2551.

6. นพวรรณ ใจคง. คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา จังหวัดชลบุรี.
[รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2555.