เผยแพร่แล้ว: มี.ค. 20, 2017
 
   
 
  คำสำคัญ:
  บุคลากรทางการพยาบาล
  นโยบายการส่งเสริมการวิจัย
 
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
   
 
 
 
    Language
 
      English  
      ภาษาไทย  
 
 
    Information
 
      สำหรับผู้อ่าน  
      สำหรับผู้แต่ง  
      สำหรับบรรณารักษ์  
 
 
    Home ThaiJo
 
   
 
 
 
    Manual
 
      For Author  
      For Reviewer  
 
 
    เว็บไซต์
 
      โรงพยาบาล
    เจริญกรุงประชารักษ
 
      www.ckphosp.go.th  
 
 

 

 
     
 
 
     
     
 

แนวทางการส่งเสริมการวิจัยของบุคลากรทางการพยาบาล ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลเจริญประชารักษ์

 
     
     
 
นิลาวรรณ มัศยาอานนท์
หัวหน้าพยาบาล ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
พัชรา สิริวัฒนเกตุ
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
ประวิทย์ ทองไชย
วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษาประเด็นปัญหาและทิศทางสู่อนาคตในการวิจัยของบุคลากรทางการพยาบาลของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการวิจัยของบุคลากรทางการพยาบาลฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์


วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงจำนวน 2 คน ผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาล จำนวน 5 คน หัวหน้าหอผู้ป่วยและหน่วยงาน จำนวน 10 คน และพยาบาลวิชาชีพจำนวน 10 คนดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม


ผลการวิจัย: แนวทางในการส่งเสริมการวิจัยของบุคลากรทางการพยาบาล ได้แก่ การพัฒนาระบบการส่งเสริมการวิจัยของฝ่ายการพยาบาล โดยเน้นในประเด็นปัญหา และทิศทางสู่อนาคตในการวิจัยของบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โดยมี 2 ประเด็น ได้แก่ 1) ประเด็นปัญหาด้านระบบการดำเนินการวิจัยและขอพิจารณาจริยธรรม ควรมีการจัดหาที่ปรึกษาและพี่เลี้ยงด้านการดำเนินการวิจัย รวมทั้งการจัดการอบรมด้านการขอจริยธรรมและขั้นตอนการขอทุนและ 2) ประเด็นในด้านบุคลากรที่ขาดความรู้ความเข้าใจและแรงบันดาลใจในการทำวิจัย ควรเสริมพลังการทำวิจัยให้กับบุคลากรทางการพยาบาลโดยจัดเวทีเพื่อนำเสนอผลงานและสนับสนุนผู้ที่มีผลงานการวิจัย การให้รางวัล การจัดอบรมพื้นฐานการวิจัยอย่างต่อเนื่องให้แก่บุคลากรทางการพยาบาลทุกคน


สรุป:  ประเด็นปัญหาในการส่งเสริมการวิจัยมี 2 ประเด็น ได้แก่ 1) ประเด็นปัญหาด้านระบบการดำเนินการวิจัยและขอพิจารณาจริยธรรม และ 2) ประเด็นในด้านบุคลากรที่ขาดความรู้ความเข้าใจและแรงบันดาลใจในการทำวิจัย โดยการส่งเสริมให้หน่วยงานเกิดการพัฒนาการวิจัยและทิศทางสู่อนาคตของการวิจัยนั้น สามารถนำมากำหนดเป็นแนวทาง 7 แนวทาง ได้แก่ 1) การกำหนดเป้าหมายหรือยุทธศาสตร์ในหน่วยงานหรือองค์กร 2) จัดชั่วโมงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การวิจัย  3) ตั้งทีมพี่เลี้ยง 4) ใช้รางวัลล่อปัญญา  5) ขับเคลื่อนด้วยวารสาร 6) สร้างเครือข่ายระดับชาติ เน้นความร่วมมือกับภาคี และ7)  ยกระดับโจทย์วิจัย


คำสำคัญ: บุคลากรทางการพยาบาล นโยบายการส่งเสริมการวิจัย

 
     
     
     
 
   ฉบับ  

    ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (2017): กรกฎาคม - ธันวาคม 2560

 
 
     
     
 
   บทความ  
    Original Article  
 
     
     
     
 

References

1. กองบริหารงานวิจัยสำนักงานอธิการบดี. ยุทธศาสตร์การวิจัยพ.ศ. 2559-2562. มหาวิทยาลัยมหิดล.
กรุงเทพมหานคร. 2559, 1-28.

2. เอื้อมพร ทองกระจาย. การวิจัยทางการพยาบาลในสังคมไทย: ทบทวนอดีตและทิศทางอนาคต. วารสาร
พยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2558, 38(1): 122-131.

3. ฝ่ายการพยาบาล สถิติการทำวิจัยของบุคลากรฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์,
2560.

4. Gentles SJ, Charles C, Ploeg J, McKibbon KA. Sampling in qualitative research: Insights from
an overview of the methods literature. The Qualitative Report. 2015; 20(11): 1772.

5. Stewart DW, Shamdasai P. Focus groups: Theory and research. Newbury Park, CA: SAGE.1990.

6. Kathryn MB, David CM. Management (2nd ed.). New York: McGraw-Hill. 1991.

7. Von Bertalanffy L. General system theory. The Science of Synthesis: Exploring the Social
Implications of General. New York. 1968; 41973(1968): 40.

8. Colaizzi PF. Psychological research as the phenomenologist. Oxford New York: University Press.
1978.

9. Lincoln YS, Guba EG. Naturalistic inquiry (Vol. 75). Sage. 1985; 1-417.

10. วิจารณ์ พานิช. เคล็ดไม่ลับ R2R. โครงการสนับสนุนการพัฒนางานประจําสู่งานวิจัยระดับประเทศสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส). ร่วมกับหน่วยพัฒนางานประจําสู่งานวิจัย
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ยูเนี่ยน ครีเอชั่น จํากัด, 2555.