เผยแพร่แล้ว: มิ.ย. 15, 2016
 
   
 
  คำสำคัญ:
  การบริหารทางการพยาบาล
  สมรรถนะ
  ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น
  กรุงเทพมหานคร
 
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
   
 
 
 
    Language
 
      English  
      ภาษาไทย  
 
 
    Information
 
      สำหรับผู้อ่าน  
      สำหรับผู้แต่ง  
      สำหรับบรรณารักษ์  
 
 
    Home ThaiJo
 
   
 
 
 
    Manual
 
      For Author  
      For Reviewer  
 
 
    เว็บไซต์
 
      โรงพยาบาล
    เจริญกรุงประชารักษ
 
      www.ckphosp.go.th  
 
 

 

 
     
 
 
     
     
 

สมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

 
     
     
 
ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร


วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้เทคนิคเดลฟาย(Delphi technique) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร เพื่อนำสาระมากำหนดแนวคิดสมรรถนะ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทางการพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาทางการพยาบาลและผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 20 คน ระบุระดับความจำเป็นของสมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ขั้นตอนที่ 3 ผู้เชี่ยวชาญยืนยันระดับความจำเป็นของสมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น คัดเลือกสมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โดยพิจารณาจากค่ามัธยฐาน ตั้งแต่ระดับมากขึ้นไปและเป็นความคิดเห็นที่สอดคล้องกันของผู้เชี่ยวชาญ (Md > 3.50, IR < 1.50)


ผลการวิจัย: พบว่า สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จำแนกได้ 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการบริหารทางการพยาบาล 2) ด้านเทคนิคเชิงวิชาชีพ 3) ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 4) ด้านวิชาการและการวิจัยทางการพยาบาล และ5) ด้านการปฏิบัติงานตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร


สรุปฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ ควรนำผลการวิจัยมาใช้เป็นกรอบในการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร


คำสำคัญ: การบริหารทางการพยาบาล สมรรถนะ ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น กรุงเทพมหานคร

 
     
     
     
 
   ฉบับ  

    ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (2016): กรกฎาคม - ธันวาคม 2559

 
 
     
     
 
   บทความ  
    Original Article  
 
     
     
     
 

References

1. Bradley, L. A., Maddox, A., & Spears, P. Opportunities and strategies for nurse leader development: Assessing competencies. Nurse Leader. 2008; 6: 26-33

2. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, บรรณาธิการ. การพัฒนาที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน. การประชุมวิชาการประจำปี การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ครั้งที่ 11 วันที่ 9-12 มีนาคม 2553; ศูนย์ประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี; ปทุมธานี: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2553.

3. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาลศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

4. น้ำฝน โดมกลาง และสุชาดา รัชชุกุล. บทบาทหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลศูนย์ที่พึงประสงค์ในศตวรรษหน้า (พ.ศ. 2551-2560). วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2551; 20(3): 16-28.

5. อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม. การพัฒนาวิชาชีพการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่คณะพยาบาลศาสตร์; 2553.

6. Spencer, L. M., & Spencer, S. M. Competence at work: Models for superior performance. New York: Wiley; 1993.

7. Nishiyama, M., Wold, J. L., & Partskhladze, N. Building competencies for nurse administrators in the Republic of Georgia. International Nursing Review 2008; 55(2): 179-86.

8.Chase, L. K. Nurse manager competencies. Dissertation Abstracts International 2010; 73(5), 169-B. (UMI No. 3494013)

9.Hsu, H-Y., Lee, L-L.,Fu, C-Y., & Tang, C-C. Evaluation of a leadership orientation program in Taiwan:
Perceptorship and leader competencies of the new nurse manager. Nurse Education Today. 2011; 31: 809-14.

10. Rosenfeld. P. S., Rosati, R. J., & Marren, J. M. Developing a Competency Tool for Home
Health Care Nurse Manager 2012; 24(10):5-12.

11. Office for Health Management. Front-Line Competencies for Nurse and Midwife.
Available at http://www.officeforhealthmanagement.ie Retrived March2. 2013.

12. Swart, J., Mann, C., Brown, S., & Price, A. Human Resource Development
strategy and tactics. England: Elsevier;2008.

13. สุวดี สุขีนิตย์. การรับรู้อุปสรรคและสิ่งเอื้ออำนวยต่อการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยของบุคลากรในโรงพยาบาลกลาง. การสัมมนาวิชาการประจำปี ครั้งที่ 10 วันที่ 30 สิงหาคม 2555;โรงแรมปรินซ์ พาเลซ มหานาค, กรุงเทพมหานคร: ศักดิ์โสภาการพิมพ์; 2555.

14. Huston, C. Preparing nurse leaders for 2020. The Journal of Nursing Management, 2008; 16(8): 905-11.

15. สภาการพยาบาล. สมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. กรุงเทพมหานคร: ศิริยอดการพิมพ์; 2553.